Article

โลหะหนัก (Heavy Metals) ในผลผลิต ภัยเงียบที่ทุกคนต้องรู้ พร้อมแนวทางป้องกันครบทุกขั้นตอน

Heavy Metals TH

โลหะหนัก (Heavy Metals) ในผลผลิต ภัยเงียบที่ทุกคนต้องรู้ พร้อมแนวทางป้องกันครบทุกขั้นตอน

    ในยุคที่ผลผลิตทางการเกษตรของไทย เช่น ทุเรียน มังคุด หรือผักส่งออก กำลังเติบโตและมีบทบาทสำคัญในตลาดโลก คำว่า “คุณภาพ” ไม่ใช่เพียงรสชาติ รูปลักษณ์ หรือความสดใหม่ แต่หมายรวมถึง “ความปลอดภัย” ที่ต้องมั่นใจได้ในทุกขั้นตอนของการผลิต โดยเฉพาะการปนเปื้อนจากโลหะหนักและสารเคมีต้องห้ามที่ยังพบได้บ่อยในระบบการผลิตหลายพื้นที่

    กรณีล่าสุด เช่น การตรวจพบสาร BY2 Yellow ในทุเรียน ซึ่งสารตัวนี้ส่งผลต่อโลหะหนัก แคดเมียม(Cadmium) ที่สูงจากสีประเภท BY2 ที่อาจมาจากการปนเปื้อนของวัตถุดิบหรือการจัดการที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้การส่ง ผลต่อความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติ

    โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู และปรอท รวมถึงสารตกค้างทางการเกษตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อาจเข้าสู่ผลผลิตโดยที่ผู้ปลูกไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะผ่านน้ำ ปุ๋ย ดิน หรือการใช้สารเคมีที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และชื่อเสียงของประเทศในเวทีการค้าสากล

ต้นตอของโลหะหนัก (Heavy Metals) รู้ให้ลึก เพื่อป้องกันให้ได้ผลจริง

    การเผชิญหน้ากับปัญหาโลหะหนัก (Heavy Metals) ในกระบวนการผลิตผลไม้และพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน ลำไย หรือผักส่งออก ไม่ใช่เรื่องที่สามารถมองข้ามได้ เพราะการปนเปื้อนโลหะหนักไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว แต่เป็นผลสะสมจากหลายแหล่ง เช่น ดิน น้ำ ปุ๋ย หรือแม้แต่ภาชนะและเครื่องมือในกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน

    เมื่อโลหะหนักอย่างตะกั่ว แคดเมียม หรือสารหนูปนเปื้อนในดินหรือแหล่งน้ำแล้ว ก็สามารถดูดซึมเข้าสู่พืชได้โดยตรง ส่งผลต่อทั้งคุณภาพผลผลิต และสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว อีกทั้งยังส่งผลต่อความสามารถในการส่งออก เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าหลายแห่งมีมาตรฐานการตรวจสอบสารตกค้างที่เข้มงวด

    ดังนั้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องเข้าใจถึงแหล่งต้นตอของการปนเปื้อนอย่างลึกซึ้ง และเลือกใช้วิธีป้องกันที่เหมาะสม เช่น การตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำเป็นประจำ การเลือกใช้ปุ๋ยและสารปรับปรุงดินที่ปลอดภัย รวมถึงการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างรัดกุม เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทยมีความปลอดภัย และคงความเชื่อมั่นในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

1. ดินปลูก – ต้นเหตุอันดับหนึ่ง
  • พื้นที่ที่เคยเป็นเขตอุตสาหกรรม หรือใกล้ถนนใหญ่ อาจมีตะกั่วสะสมจากควันรถหรือโรงงานมานานหลายสิบปี
  • ดินที่ผ่านการทำเกษตรเคมีแบบเข้มข้น ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงหลายชนิดทิ้งแคดเมียมไว้ในดินโดยไม่มีทางล้างออกง่าย ๆ

แนวทาง : ก่อนเริ่มปลูกทุกครั้งควร “ตรวจวิเคราะห์ดิน” อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และหากดินมีแนวโน้มปนเปื้อน ควรเปลี่ยนไปใช้ดินปลูกสำเร็จรูปหรือระบบไฮโดรโปนิกส์

2. น้ำที่ใช้รดพืช – มองไม่เห็น แต่แฝงภัย
  • น้ำบาดาลในหลายพื้นที่ของไทย มีสารหนูปนเปื้อนจากชั้นหินธรรมชาติ
  • น้ำจากคลองหรือแหล่งธรรมชาติที่ไหลผ่านเขตอุตสาหกรรม มักมีสารปนเปื้อนจำนวนมาก

แนวทาง : ติดตั้งระบบกรองน้ำระดับ Reverse Osmosis (RO) หรือตรวจน้ำที่ใช้รดต้นพืชเป็นประจำทุก 3-6 เดือน เพื่อความมั่นใจ

3. ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน – สิ่งที่เลือกได้
  • ปุ๋ยราคาถูกที่ไม่ได้ผ่านการรับรอง อาจใช้วัตถุดิบที่มีโลหะหนักเจือปน
  • ปุ๋ยอินทรีย์ก็ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป หากผลิตจากขยะอินทรีย์ที่ไม่ได้แยกสารพิษ

แนวทาง : ใช้ปุ๋ยที่มีการทดสอบ Heavy Metal Certified และควรเลือกแบรนด์ที่มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล

4. กระบวนการหลังเก็บเกี่ยว – จุดเล็กที่มักถูกมองข้าม
  • กรรไกรแต่งดอกที่ผลิตจากโลหะไม่ได้คุณภาพ อาจปล่อยโลหะออกสู่ช่อดอกขณะตัด
  • เครื่องทริมหรือเครื่องตัดที่ไม่ได้ใช้วัสดุ Food Grade ก็เป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยง

แนวทาง : เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) และทำความสะอาดก่อนใช้งานทุกครั้ง

การปนเปื้อนโลหะหนัก (Heavy Metals) อันตรายที่สะสมจากพืชสู่ผู้บริโภค

     โลหะหนักไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่การเติบโตของพืชเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างรุนแรง โดยเฉพาะหากโลหะหนักสะสมในผลผลิตที่ไม่ได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม
 

ผลกระทบต่อพืช
  • การสะสมโลหะหนักในรากพืชจะทำให้ระบบดูดซึมแร่ธาตุอื่น ๆ ลดลง ทำให้ต้นไม้ ไม่สามารถผลิตสารสำคัญได้เต็มที่ (สารสำคัญ ส่งผลต่อความเข้มข้นของผลผลิต)
  • หากมีโลหะหนักตกค้าง จะทำให้เกิดการปนเปื้อนในผลผลิต และก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้

แนวทาง : ใช้ปุ๋ยที่มีการทดสอบ Heavy Metal Certified และควรเลือกแบรนด์ที่มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล

ผลกระทบต่อผู้บริโภค
ธาตุโลหะหนัก (Heavy Metal)อันตรายที่เกิดขึ้น
ตะกั่ว - Lead (Pb)
ทำลายระบบประสาท เสี่ยงความจำเสื่อมในระยะยาว
แคดเมียม - Cadmium (Cd)ทำลายไต เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมาก
สารหนู - Arsenic (As)สะสมในตับและผิวหนัง ก่อมะเร็งกระเพาะอาหาร
ปรอท - Mercury (Hg)รบกวนการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์และทำลายระบบสืบพันธุ์
หากปนเปื้อนแล้ว จะติดอยู่ในผลผลิตตลอดไป

มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

     ตารางแสดงค่ามาตรฐานโลหะหนักที่อนุญาตในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตามมาตรฐานยุโรป (EU)
(Heavy Metal Limits in Agricultural Products as Regulated by EU)

 
ธาตุโลหะหนัก (Heavy Metal)ค่าจำกัดสูงสุดตาม EU (2019/1009)หมายเหตุ (รายละเอียดตามข้อกำหนดของ EU)
แคดเมียม - Cadmium (Cd)≤ 60 mg/kg P₂O₅ใช้เฉพาะกับปุ๋ยที่มีฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบหลัก (phosphate fertiliser) เนื่องจากฟอสเฟตธรรมชาติอาจมีการปนเปื้อนแคดเมียมสูง จึงมีการกำหนดค่าควบคุมเฉพาะ
ตะกั่ว - Lead (Pb)≤ 120 mg/kg dry matterครอบคลุมวัสดุทุกประเภทในกลุ่ม PFCs (Plant Fertilising Products Components) เพื่อป้องกันการสะสมสารตะกั่วในพืชและสิ่งแวดล้อม
ปรอท - Mercury (Hg)≤ 1 mg/kg dry matterครอบคลุมทั้งในรูปแบบผงและเม็ด เพื่อจำกัดความเสี่ยงจากการดูดซึมเข้าสู่พืชและการสะสมในระบบนิเวศ
นิกเกิล - Nickel (Ni)≤ 100 mg/kg dry matterแม้ไม่มีการใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรง แต่นิกเกิลอาจปนเปื้อนจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ จึงกำหนดค่าควบคุมสูงสุดไว้เพื่อความปลอดภัย
สารหนู - Arsenic (As)≤ 40 mg/kg dry matterใช้ค่าควบคุมเฉพาะสำหรับ “สารหนูอนินทรีย์” (Inorganic Arsenic) ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความเป็นพิษสูงและมีแนวโน้มตกค้างในพืช
โครเมียม - Chromium (Cr)≤ 2 mg/kg (เฉพาะ Cr(VI) ใน growing media)ไม่มีการกำหนดค่ารวมของโครเมียมทั้งหมด (Total Cr) แต่มีการควบคุมเฉพาะโครเมียมวาเลนซ์หก (Cr(VI)) ที่มีพิษสูงในวัสดุปลูก (growing media) เท่านั้น
โคบอลต์ - Cobalt (Co)ไม่ได้กำหนดไว้ไม่อยู่ในบัญชีสารควบคุมหลักภายใต้ Regulation (EU) 2019/1009 จึงไม่มีการระบุค่าจำกัดอย่างเป็นทางกา
ประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนามาตรฐาน การปลูกพืช GACP, GMP ให้มีความเข้มงวดและเหมาะสมกับมาตรฐานสากลเพื่อรองรับการส่งออกในอนาคต ดังนั้น ผู้ปลูกในประเทศไทยควรยึดมาตรฐานสูงสุดของประเทศที่เป็นผู้นำด้านเกษตรเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและการขยายตลาดส่งออกในระยะยาว

แนวทางปฏิบัติเพื่อเกษตรแบบปลอดโลหะหนัก (Heavy Metals)

    การเกษตรในปัจจุบันไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่ผลผลิตที่สวยงามหรือปริมาณสูงเท่านั้น แต่ยังต้องใส่ใจเรื่อง “ความปลอดภัย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ การปนเปื้อนโลหะหนัก (Heavy Metals Contamination) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมถึงอาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดต่างประเทศ    แนวทางต่อไปนี้เป็นหลักปฏิบัติที่ผู้ปลูกสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อวางระบบการผลิตที่ปลอดภัย สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของโลหะหนักอย่างรอบด้าน
1. วางระบบตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจากการเลือกแหล่งปลูกที่ปลอดภัย

การวางรากฐานที่ดีเริ่มจากการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของแหล่งปลูก โดยเฉพาะ “ดิน” และ “น้ำ” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดูดซึมโลหะของพืช

  • ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำก่อนการปลูกทุกครั้ง โดยสามารถส่งตัวอย่างไปยังห้องแล็บที่ได้รับการรับรอง เพื่อประเมินค่าความเข้มข้นของโลหะ เช่น ตะกั่ว (Pb), แคดเมียม (Cd), สารหนู (As) และปรอท (Hg)
  • เลือกใช้วัสดุปลูกที่ผ่านการทดสอบแล้ว เช่น ดินปลูกอินทรีย์ที่มีผลตรวจรับรองว่าไม่มีโลหะหนัก หรือวัสดุทดแทนดิน เช่น พีทมอส หรือโคโคพีท ที่ควบคุมแหล่งผลิตได้
  • หากจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่เสี่ยง ควรใช้ระบบปลูกแบบปิด เช่น ปลูกในกระถาง หรือ ใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ เพื่อเลี่ยงการดูดซึมโลหะจากดินโดยตรง
2. เลือกปุ๋ยและสารอาหารอย่างมีมาตรฐาน ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

แม้ปุ๋ยจะเป็นแหล่งบำรุงพืช แต่หากไม่ได้มาตรฐานก็อาจกลายเป็นแหล่งสะสมของโลหะหนักได้เช่นกัน

  • หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่ไม่มีฉลากชัดเจน หรือไม่แสดงแหล่งที่มา เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในการปนเปื้อน
  • เลือกใช้ปุ๋ยที่มีการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่ได้รับมาตรฐาน GAP, GACP หรือปุ๋ยสูตรเฉพาะที่มีผลการทดสอบยืนยันว่าไม่มีการปนเปื้อนของโลหะ
  • หมั่นตรวจสอบและเปรียบเทียบข้อมูลปุ๋ยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และควรมีการสุ่มส่งตัวอย่างไปตรวจอย่างสม่ำเสมอในกรณีที่มีการใช้จำนวนมาก
3. ดูแลสภาพแวดล้อมการปลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก
  • ควบคุมค่า pH ของดินให้อยู่ในช่วง 5.5 – 6.5 เนื่องจากค่าความเป็นกรดด่างของดินมีผลต่อความสามารถในการดูดซึมโลหะของพืช ค่า pH ที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสที่พืชจะดูดโลหะหนักเข้าสู่ราก
  • ปลูกในระบบโรงเรือนหรือโรงปลูกแบบปิด (Controlled Environment Agriculture) ซึ่งช่วยป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง แหล่งน้ำเสีย หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ใช้ระบบกรองน้ำสะอาด หรือกรองโลหะหนักชนิดต่างๆ ก่อนรดพืช เพื่อป้องกันการนำโลหะเข้าสู่ระบบผ่านทางน้ำ
4. ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้
  • จัดทำระบบ การจดบันทึกข้อมูลการเพาะปลูก (Cultivation Logbook) อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมข้อมูลที่สำคัญ เช่น แหล่งที่มาของดิน ปุ๋ย น้ำ และวัสดุปลูก
  • จัดเก็บผลการตรวจวิเคราะห์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งจากการวิเคราะห์ก่อนการปลูก และการตรวจสอบผลผลิตก่อนจำหน่าย
  • ผลผลิตตรวจวิเคราะห์ก่อนการจำหน่ายทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อน และสามารถใช้เป็นหลักฐานทางการตลาดและกฎหมายในอนาคตได้

เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก(Heavy Metals) องค์ความรู้พื้นฐานที่ผู้ปลูกควรเข้าใจ

    การควบคุมคุณภาพผลผลิตให้ปลอดภัยจากสารโลหะหนัก จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำสูง โดยแต่ละวิธีมีจุดเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกัน การเลือกใช้วิธีใดจึงควรพิจารณาจาก งบประมาณ ความแม่นยำที่ต้องการ และวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ

1. ICP-MS (Inductively Coupled Plasma – Mass Spectrometry)

เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานระดับสูงสุดในการตรวจวิเคราะห์โลหะหนัก สามารถตรวจพบธาตุได้ในระดับ “ส่วนในพันล้าน (ppb)” ซึ่งมีความไวและแม่นยำอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้ในงานวิจัย การผลิตเชิงอุตสาหกรรม และห้องแล็บที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกสำหรับวิเคราะห์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อย่างครอบคลุมทุกธาตุ

csm I 07 iCAP 1 e5fc733878
2. AAS (Atomic Absorption Spectroscopy)

วิธีนี้ใช้หลักการดูดกลืนแสงของอะตอมโลหะ เหมาะสำหรับการตรวจหาโลหะหนักบางชนิด เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท หรือสารหนู ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ICP-MS จึงนิยมใช้ในห้องแล็บระดับกลาง หรือในกรณีที่ต้องการตรวจเฉพาะธาตุที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

AAS 2 efda67da
3. XRF (X-ray Fluorescence)

เทคโนโลยีนี้มีจุดเด่นด้านความรวดเร็ว และสามารถใช้ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างได้โดยไม่ต้องเตรียมตัวอย่างซับซ้อน เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม เช่น การคัดกรองเบื้องต้นในฟาร์ม หรือใช้ในจุดตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม ความแม่นยำอาจต่ำกว่าวิธีอื่น จึงไม่เหมาะสำหรับการยืนยันผลอย่างเป็นทางการ

p2544505 1740073178

ความท้าทายของระบบปลูกในปัจจุบัน เมื่อมาตรฐานสูงขึ้น แต่ภาระต้นทุนก็เพิ่มตาม

    แม้เทคโนโลยีการวิเคราะห์จะช่วยยกระดับความปลอดภัยของการเกษตรได้อย่างชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติ ยังมีอุปสรรคสำคัญที่ผู้ปลูก โดยเฉพาะรายย่อย ต้องเผชิญอยู่เป็นประจำ

ต้นทุนในการตรวจวิเคราะห์ที่ค่อนข้างสูง

โดยเฉพาะหากใช้ ICP-MS หรือ AAS ที่ได้มาตรฐาน ราคาการทดสอบในประเทศไทยต่อ 1 ตัวอย่างอาจเริ่มต้นที่ 3,000 – 5,000 บาท ทำให้ผู้ผลิตขนาดเล็กไม่สามารถตรวจสอบได้บ่อยเท่าที่ควร

ดินในหลายพื้นที่มีการสะสมของโลหะหนักมาอย่างยาวนาน

จากการใช้ปุ๋ยเคมี สารปรับปรุงดิน หรือการตั้งอยู่ใกล้พื้นที่อุตสาหกรรม การฟื้นฟูดินเหล่านี้ต้องอาศัยเวลา การวางแผนระยะยาว และงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ

ความรู้และการเข้าถึงข้อมูลยังจำกัดในบางกลุ่มเกษตรกร

ทำให้การจัดการเรื่องความปลอดภัยยังขาดความต่อเนื่อง และยังมีผู้ปลูกบางรายที่ไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของโลหะหนักอย่างจริงจัง

เกษตรปลอดภัยเริ่มที่เรา สร้างมาตรฐานด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน

    เพื่อสร้างระบบนิเวศเกษตรที่ปลอดภัยและยั่งยืน ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของผู้ปลูกเท่านั้น แต่ทุกภาคส่วนควรมีบทบาทอย่างเหมาะสม

ผู้บริโภค
  • ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ
  • ขอใบรับรองการตรวจสอบคุณภาพ (Certificate of Analysis - COA) ทุกครั้ง เพื่อยืนยันว่าไม่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแหล่งที่มาชัดเจน หรือไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
ผู้ปลูก
  • วางแผนการผลิตภายใต้มาตรฐาน GACP, GMP เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทุกขั้นตอน
  • ดำเนินการทดสอบคุณภาพของดินและน้ำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และควรตรวจผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวทุกครั้งก่อนวางจำหน่าย
  • จดบันทึกการใช้ปุ๋ย สารปรับปรุง และปัจจัยอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการตรวจสอบย้อนหลังหากพบปัญหา
ผู้ส่งออก
  • ศึกษากฎหมายและเกณฑ์มาตรฐานของประเทศปลายทางอย่างละเอียด เนื่องจากแต่ละประเทศมีค่าควบคุมโลหะหนักแตกต่างกัน
  • เตรียมเอกสารการตรวจวิเคราะห์ล่วงหน้า และจัดเก็บข้อมูลให้สามารถอ้างอิงได้ในทุก Shipment เพื่อป้องกันปัญหาการตีกลับหรือความเสียหายทางธุรกิจ

มั่นใจทุกการทดสอบโลหะหนักในผลผลิต ด้วยห้องแล็บที่ได้รับการรับรองทั้งในประเทศและระดับสากล

    เพื่อช่วยให้ผู้ปลูกและผู้ผลิตสามารถตรวจสอบคุณภาพได้อย่างมั่นใจ

1.Central Lab Thai (ห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย)

ห้องปฏิบัติการกลางของประเทศ ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลผลิตทางการเกษตรทุกประเภท รวมถึงกัญชา ด้วยราคาที่เหมาะสม ครอบคลุมการตรวจสอบสารสำคัญและสารตกค้างในทุกหมวด หากต้องการตรวจสารเฉพาะทางอื่น ๆ สามารถติดต่อเพื่อจัดชุดวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ตามความต้องการ

2. TISTR – สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) หน่วยงานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ที่มีห้องปฏิบัติการให้บริการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างและโลหะหนักในพืชและผลผลิตทางการเกษตร กระจายอยู่ทั่วประเทศ พร้อมความสามารถในการรองรับคิวตรวจที่รวดเร็วและประหยัดเวลา เหมาะสำหรับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ต้องการตรวจสอบเบื้องต้นหรือวิเคราะห์ในระดับเชิงลึก

3. ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 หรือแล็บของมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย
ห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ถือเป็นแหล่งตรวจที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลวิเคราะห์ที่สามารถใช้รับรองในระบบการค้าส่งออก หากเป็นการวิเคราะห์ช่อดอกกัญชาโดยเฉพาะ ห้องแล็ปต้องมีใบอนุญาตเฉพาะสำหรับการตรวจสารเสพติด เนื่องจากกระบวนการสกัดที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์อาจเข้าข่ายการเปลี่ยนสถานะของวัตถุเป็นสารควบคุมในช่วงการทดสอบ

คิงเวล (KINGWHALE) ขอยกระดับมาตรฐานของผลผลิตให้ปลอดภัย เพื่ออนาคตของผู้บริโภค

    ในยุคที่ความปลอดภัยของผู้บริโภคต้องมาก่อน คิงเวล (KINGWHALE) มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานการผลิตการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกจนถึงกระบวนการแปรรูป ด้วยเป้าหมายชัดเจนในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ สะอาด ปลอดภัย และพร้อมแข่งขันในตลาดโลก

    เราใส่ใจในทุกรายละเอียด โดยเฉพาะการ ตรวจสอบโลหะหนักในทุกล็อตการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และเป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว

  • ทุกล็อตต้องผ่านการวิเคราะห์จากห้องแล็บมาตรฐาน
  • ใช้เทคโนโลยีโรงปลูกแบบควบคุมสภาพแวดล้อม เพื่อควบคุมปัจจัยต่าง ๆ อย่างแม่นยำ
  • ผลิตภัณฑ์ของ KING WHALE พร้อมตอบโจทย์ตลาดต่างประเทศที่มีเกณฑ์เข้มงวด

    คิงเวล (KINGWHALE) เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า “คุณภาพที่ดี เริ่มต้นจากความรับผิดชอบในทุกกระบวนการ” ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกวัตถุดิบ การควบคุมมาตรฐานการผลิต การตรวจสอบความปลอดภัยในทุกขั้นตอน รวมไปถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและได้มาตรฐานสู่มือผู้บริโภค

    เราให้ความสำคัญกับทุกจุดเล็กๆ ที่อาจมีผลต่อคุณภาพของพืชเกษตรทุกชนิด ไม่เพียงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีเท่านั้น แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมเกษตรไทยทั้งในประเทศและระดับสากล

    คิงเวล (KINGWHALE) ขอเป็นหนึ่งแรงที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตรไทยให้เดินหน้าอย่างมั่นคง ด้วยแนวทางที่โปร่งใส ปลอดภัย และใส่ใจต่อผู้บริโภค ร่วมสร้างระบบนิเวศการผลิตที่แข็งแรง และวางรากฐานที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค เพื่ออนาคตที่ทุกภาคส่วนสามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างมีคุณภาพ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *